8/18/2562

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

บทความเทคโนโลยีทางการสื่อสารโทรคมนาคม

       เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม  ซึ่งเป็นการการสื่อสารที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกมากเรามาดูเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน



1. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication)   
     
   
          เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเล การสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งคงที่เมื่อมองจากพื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดินแห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้

          การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณ ดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้
-บัญชี
-ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

        ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นที่รวมแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการจัดการอย่างมีระบบและให้บริการค้นคืนสารสนเทศแบบออนไลน์ในระบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระยะไกลมายังห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่นได้ทุกที่ในระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล       

       ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน


           ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมสามดวงลอยอยู่เหนือประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดียและอ่าวไทย ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ

 2. การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง (fiber optic)


           เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้มด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ภายในท่อแก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่งแสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว
           

                  ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่างๆ ทั้งใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด เพื่อให้ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ

3. โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN)






             ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิทัลคือส่งสัญญาณข้อมูลตัวเลขแทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล การสื่อสารโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเน้นการประยุกต์ใช้งานหลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่น ในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ ใช้ส่งโทรสาร ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ การดำเนินการเหล่านี้สามารถทำได้พร้อมกันบนสายสื่อสารเดียวกันโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลควรได้รับการพัฒนา โดยวางโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงต่างๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับความเร็วของการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้น

4. ระบบเครือข่ายสวิตชิง (switching technology)
          ด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงที่มีความเร็วสูงทำให้การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงในการส่งผ่านข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที เอทีเอ็มสวิตชิงจึงเป็นเทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่จะรองรับการใช้งานแบบสื่อประสม ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มใช้เครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงภายในองค์กรของตนเอง และมีแนวโน้ม การขยายตัวเพื่อรองรับระบบนี้สำหรับเครือข่ายระยะไกลในอนาคตต่อไป

5. ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system)


           หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellular phone system) ที่ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อสารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซล เหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุมพื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณ พื้นที่บริการใด และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเชื่อมโยงกับสถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ ครั้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้างเคียงโดยที่สัญญาณสื่อสารไม่ขาดหาย

6. ระบบสื่อสารไร้สาย (wireless communication) 


 
           เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่าย ระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุ สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที
        ระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความสะดวกในการใช้งาน

7. สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)


ความหมายของสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์หรืออีออฟฟิศ            
          สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย                    
              ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) รวมถึง ระบบข้อมูลสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่มีจุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย,
คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่ง
               หลายปีที่ผ่านมา สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) ถูกมองว่า มีเพียงหน้าที่แก้ปัญหาในการทำงาน แต่ในปัจจุบัน ระบบที่ช่วยเสริมการติดต่อ สื่อสารในสถานที่ทำงาน ถูกมองว่ามีความสำคัญ และต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับเดียวกับระบบ TPS, MIS และ ISS
              สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) ในปัจจุบัน ดูเหมือนกับไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ แตกต่างจากสำนักงานที่ใช้เพียงเครื่องจักรกล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องยนต์ กลไกล และ ระบบไปรษณีย์  เป็นความหมายหลักของการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเรื่องน่าทึ่งที่ยังรอคอยเราอยู่ เรากำลังจะได้เริ่มเห็นบทบาทของ บริษัทเสมือนจริง ซึ่งสามารถทำให้ เราทำงานได้ในทุกแห่ง ปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานในสำนักงาน อาจเรียกว่า “สำนักงานอัตโนมัติ หรือโอเอ    (OA = Office Automation)”  อาทิ
1.ประมวลผลคำ

8. การประชุมทางไกล (Teleconference)


             การประชุมทางไกล (Teleconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพล ให้บริการ Teleconference หรือบริการโทรศัพท์ทางไกลผ่าน ICQ,MSN,Net2phone เป็นต้น
            การประชุมทางไกลแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่
            1.  การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ  (Video Teleconference)  เป็นการประชุมที่ได้ทั้งภาพและเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมโดยผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องต้องเข้าไปอยู่ในสตูดิโอที่จัดไว้พิเศษ ณ ที่ต่างกัน  แล้วเชื่อมต่อด้วยวงจรโทรศัพท์หรือวงจรพิเศษ
            2.  การประชุมทางไกลด้วยเสียง  (Adio Teleconference) เป็นการประชุมที่มีการใช้โทรศัพท์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการสื่อสาร  ผู้เข้าประชุมจะได้ยินเฉพาะเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมด้วยกันเท่านั้น  จะไม่เห็นภาพคนที่เข้าร่วมประชุมด้วยกัน
            3.  การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์  (Computer Teleconference)  เป็นการประชุมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการสื่อสาร  และป้อนข้อมูลการประชุมระหว่างกันแทนการใช้โทรศัพท์หรือประชุมกันตามปกติ  ผู้เข้าประชุมจะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์  และป้อนข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ ส่งถึงผู้เข้าประชุมคนอื่น ๆ  ที่อยู่ห่างไกลออกไประบบการสื่อสารจะใช้โทรศัพท์  ไมโครเวฟ  หรือดาวเทียมก็ได้

9. ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)


         การค้นหาแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และตรงกับความต้องการมากที่สุด ห้องสมุดเป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศ เพื่อการศึกษาค้นคว้าแก่อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และบุคลากรของสถาบัน ดังนั้นเมื่อมีการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และนำเอามาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด ทำให้มีรูปแบบของห้องสมุดใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)  นั่นเอง
        ห้องสมุดเสมือน หรือ Virtual Library หมายถึง  ห้องสมุดที่เกิดจากการรวมตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องที่ติดต่อกันบนระบบเครือข่ายและใช้โปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ โดยเน้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพียงนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับแหล่งสารสนเทศต่างๆ ไม่ว่าสารสนเทศนั้นจะอยู่ที่ใด โดยห้องสมุดจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และทำหน้าที่กระจายสารสนเทศโดยเน้นการเข้าถึงมากกว่าการเป็นเจ้าของ หนังสือที่อยู่ในห้องสมุดเสมือนจะอยู่ในรูปของอิมเมจ (Image) ซึ่งอาจเกิดจากการสแกนหน้าหนังสือ วารสาร เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
        แนวคิดของห้องสมุดเสมือน พัฒนามาจากแนวคิดเดิมที่เรียกว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวคิดของ Dowlin ในสมัยนั้น (1984 : 33) มีองค์ประกอบ 4 ประการคือ
        1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
        2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
       3.  บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
        4.  ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

10. ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom )


           ห้องเรียนเสมือนเป็นการเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ 

-----------------------------------------------------------------------------
➡️วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ดังนี้
-----------------------------------------------------------------------------
1. ข้อดีและข้อเสียของการสื่อสารผ่านดาวเทียม🔎
👍ข้อดี
- การครอบคลุมพื้นที่ดาวเทียมจะมีบริเวณที่กว้างมากจึงทำให้ไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์
- ผู้ใช้อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงระบบเครือข่ายระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ดาวเทียมไทยคมสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารได้มาก
- ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดของโลก
👎ข้อเสีย
- มีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ
-----------------------------------------------------------------------------
2.ข้อดีและข้อเสียของการสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง
👍ข้อดี
- สามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลเข้าไปในแสงได้มากและทำได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น
- โครงสร้างของสายมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา
👎ข้อเสีย
- เส้นใยแก้วนำแสงเปราะบางและแตกหักง่าย
- เส้นใยนำแสงอาจไม่สามารถโค้งงอได้เหมือนสายทองแดง
-----------------------------------------------------------------------------
3. ข้อดีและข้อเสียของโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล🎥
👍ข้อดี
- สามารถสร้างความสะดวกต่อการติดต่อและข้อมูลต่างๆ
- เป็นโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ และรองรับความเร็วของการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้น
- สามารถแทนโทรศัพท์โดยการส่งข้อมูลตัวเลขแทนเสียงแทนภาพ
👎ข้อเสีย
- สัญญาณอาจถูกรบกวนได้ง่าย
-----------------------------------------------------------------------------
4. ข้อดีและข้อเสียของระบบเครือข่ายสวิตชิง🖥️
👍ข้อดี
- รับส่งข้อมูลได้ดีกว่าฮับ
- ส่งข้อมูลประเภทสื่อประสมได้ดีที่สุดการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
👎ข้อเสีย
- มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสัญญาณสูง
- หากมีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
-----------------------------------------------------------------------------
5. ข้อดีและข้อเสียของระบบสื่อสารเคลื่อนที่📞
👍ข้อดี
- สามารถติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้
- ระบบมีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด
👎ข้อเสีย
- อาจมีปัญหาการรบกวนสัญญาณ
-----------------------------------------------------------------------------
6. ข้อดีและข้อเสียของระบบสื่อสารไร้สาย📣
👍ข้อดี
- ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
- ไม่ต้องใช้สาย Cable
- ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
👎ข้อเสีย
- มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง
- มีสัญญาณรบกวนสูง
-มีความเร็วสูงไม่ากนัก
-----------------------------------------------------------------------------
7. ข้อดีและข้อเสียของสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์💻
👍ข้อดี
- ลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร
- ช่วยอำนวยความสะดวกในการปฎิบัติงาน
- ประหยัดสถานที่ในการจัดเก็บเอกสาร
👎ข้อเสีย
- ต้องลงทุนสูง ซึ่งต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่า
-----------------------------------------------------------------------------
8. ข้อดีและข้อเสียของการประชุมทางไกล📠
👍ข้อดี
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการประชุม
👎ข้อเสีย
- ทำให้เกิดการขาดปฎิสัมพันธ์ส่วนตัว
- ทำให้เกิดปัญหาทางด้านเทคนิค
-----------------------------------------------------------------------------
9. ข้อดีและข้อเสียของห้องสมุดเสมือน📖
👍ข้อดี
- สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ ได้ทั่วโลก
- ให้ผลลัพธ์รวดเร็วและตรงกับความต้องการมากที่สุด
- มีความสามารถในการจัดเก็บรวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
👎ข้อเสีย
- อาจจะใช้ต้นทุนสูง
-----------------------------------------------------------------------------
10. ข้อดีและข้อเสียของห้องเรียนเสมือน🖥️
👍ข้อดี
- มีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย
- สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
👎ข้อเสีย
- ไม่ได้พบปะผู้สอนตัวต่อตัว
-----------------------------------------------------------------------------

8/11/2562

รายชื่อสมาชิกในห้อง C

📗รายชื่อสมาชิกในห้อง

   ชื่อ-นามสกุล                                                                                                                            ชื่อเล่น

1. นายธภัทร ชัยชูโชค                                                                                             อาจารย์ปาล์ม
2. นายก้องเกียรติ บุญโสดา                                                                                                  ก้อง
3. อนัญพร หวังแหละ                                                                                                        นิส
4. จตุรงค์ ขุนฤทธ์แก้ว                                                                                                       เอก
5. จีรวัฒน์ เพ็ชรจำรัส                                                                                                       โบ๊ท
6. ชนิสรา จบฤทธิ์                                                                                                          โบว์
7. ชาญชัย กะหมายสม                                                                                                      หม่ำ
8. ณสยาม นางาม                                                                                                          แบงค์
9. ณรงค์ชัย รักนุ้ย                                                                                                           จอม
10. ณัฐพงษ์ ขวดปลอด                                                                                                   กอล์ฟ
11. เดชา เจริญพงศ์                                                                                                        แบงค์
12. ธัญชนิต ชัยการศรางกูร                                                                                                 แวน
13. นสินธุ์ สะลิหมีน                                                                                                       ฟิวส์
14. นิสา กาหลง                                                                                                             มาลี
15. ปัทมา ชอบมา                                                                                                            ซ่ะ
16. ยุทธพิชัย หกสี่                                                                                                             เอ
17. รสสุคนธ์ ขุนบุญจันทร์                                                                                                  โรส
18. รัตนาภรณ์ จวนตัว                                                                                                      แพร
19. วราภรณ์ พรมสอน                                                                                                        กี้
20. วิภาพร สนเสริม                                                                                                         ฝ้าย
21. ศุภสุดา พรหมอินทร์                                                                                                     มุก
22. เสาวลักษณ์ หนูสวัสดิ์                                                                                                   แตง
23. อนงค์นาถ รัตนกายจน์                                                                                                   บลู
24. อนุพงศ์ วงศมณี                                                                                                       กอล์ฟ
25. อาทิตยา อชัยยัง                                                                                                          แป้ง

ประวัติส่วนตัว



ประวัติส่วนตัว

🙏 ชื่อ : นางสาวศุภสุดา  พรหมอินทร์ 🙏

👩 ชื่อเล่น : มุก 👩

📖 รหัสนักศึกษา : 605705106 📖

🎂 เกิดเมื่อ : วันเสาร์ ที่ 14 กันยายน 2539 🎂

🎉 อายุ : 23 ปี 🎉

🏘️ ที่อยู่ : 160/3 ม.3 ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา

📘ประวัติการศึกษา 
 ประถมศึกษา : โรงเรียนกอบกุลวิทยาคม
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ : วิทยาลัยเทคโนโลยีส่องแสงพานิชยการ สาขาการบัญชี
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง : วิทยาลัยเทคโนโลยีส่องแสงพณิชยการ สาขาการบัญชี

➡️ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาลัยราชภัฎสงขลา คณะการจัดการอุตสาหกรรม

🐱 สัตว์เลี้ยงที่ชอบ : แมว 🐱

❤️ สีที่ชอบ : สีชมพู ❤️

📣 คติประจำใจ : ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ✌️

⭕ กรุ๊ปเลือด : โอ ⭕

📲 เบอร์โทรศัพท์ : 0623912892

อีเมล์ : 605705106@parichat.skru.ac.th

ระะบบสายพานลำเรียง/ระบบAGV

สายพานลำเลียง ระบบสายพานลำเลียง คืออะไร ?             ระบบสายพานลำเลียง คือ เครื่องจักรที่ใช้ในการลำเลียงวัตถุจากจุดๆ หนึ่งไปยังจุดอ...